Peab in Bali

โพสท์ใน วีดิทัศน์ | ใส่ความเห็น

ภาพ ศน. อบรมนิเทศออนไลน์

ศน. อบรมเพื่อเตรียมนิเทศออนไลน์
8-12 มิถุนายน 2558
ณ โรงแรมสตาร์ จังหวัดระยอง

 

โพสท์ใน รวมรูปภาพอบรม | 3 ความเห็น

ทดลองนำเสนอ

โพสท์ใน กิจกรรมการเรียนรู้ | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น

กิจกรรมการเรียนแบบมอดูล

 

 

ข้อแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนแบบมอดูล

    กิจกรรมการเรียนที่เหมาะสมกับการสอนเป็นรายบุคคลในรูปแบบของมอดูลนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน  ในที่นี้ขอยกตัวอย่างกิจกรรมการเรียนประมาณ 28 รายการ แต่มิได้หมายความว่ากิจกรรมการเรียนจะมีเพียงเท่านี้ เพียงแต่ยกมาเป็นแนวทางเพื่อกระตุ้นความคิดของผู้เรียนมอดูล ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต่อไปเท่านั้น
1. การอ่านจากตำรา หนังสือ อ่านเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเรียนในมอดูลเท่านั้น  ทั้งนี้ โดยพิจารณาให้ตรงกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นจึงควรเป็นเนื้อหาสั้น ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้ตามจุดประสงค์เท่านั้น การให้ไปอ่านจากหนังสือหรือตำรานั้นอาจจะเป็นการอ่านจากหนังสือตำราเล่มเดียว หรือให้เลือกอ่านจากหนังสือหลายเล่มก็ได้
2. การตรวจสอบหรือรวบรวมข้อมูล เช่น จากหนังสืออุเทศ มาตรฐานในวิชาชีพ
3. การอ่านหนังสือบทเรียนสำเร็จรูป  หรือเอกสารที่มีลักษณะให้อ่านได้ด้วยตนเอง
4. อ่านตำราหรือหนังสือเฉพาะที่มีอยู่ในห้องสมุดโรงเรียน (เช่น ปทานุกรม  หนังสือวารสารต่าง ๆ ทางวิชาชีพที่รวมเล่ม)
5. แก้ปัญหาด้วยการปฏิบัติจริงๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นการเรียนที่เกี่ยวกับทักษะ  (แบบฝึกหัดที่เป็นการคำนวณ)
6. ดูหรือฟังเพื่อหาความรู้จากวัสดุหรืออุปกรณ์ประกอบการสอน เช่น รูปภาพ หุ่น ตัวอย่างรูปจำลอง  สไลด์-เทป  เทปบันทึกเสียง)
7. การสังเกตหรือฝึกใช้เครื่อง  แต่ทำกับหุ่นหรือเครื่องยนต์จำลอง  ให้ผู้เรียนได้เข้าใจกลไกของเครื่องและระบบควบคุม
8. สถานการณ์จำลอง  ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่กำหนดให้  เช่น  เป็นผู้ช่วย  ผู้ฟัง ฯลฯ  ซึ่งควรเป็นกิจกรรมสุดท้ายของการเรียน
9. การปฏิบัติงานเหมือนชีวิตจริง ให้ผู้เรียนปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมหรือมีเงื่อนไขที่เป็นงานจริงๆ หรือคล้ายงานจริงๆ (เช่น ทดลองเล่านิทานให้เด็กในศูนย์เลี้ยงเด็กฟัง  จัดทำเครื่องมือในขณะสำรวจ) กิจกรรมเหล่านี้ควรเป็นกิจกรรมขั้นสุดท้าย
10. การสังเกตผู้ปฏิบัติงานในการทำงานจริงๆ การให้ผู้เรียนสังเกตผู้ปฏิบัติงานในการทำงานจริงๆ นั้นควรทำด้วยการมีความมุ่งหมายเฉพาะในใจ  โดยปกติก็จะต้องมีแบบฟอร์มในการสังเกต  ซึ่งจะกำหนดเค้าโครงและจุดที่จะให้สังเกตไว้ด้วย
11. ให้ผู้เรียนดูวีดีโอเทปการปฏิบัติงานของตนเอง  การฉายวีดีโอเทปให้ผู้เรียนดูการทำงาน ท่าทางของตนเองในเวลาทำงาน จะช่วยให้ผู้เรียนประเมินผลตัวเองและปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น
12. ประสบการณ์จำลอง  ผู้เรียนได้รับการฝึกหัดให้ทำงานในสภาพที่คล้าย ๆ ของจริง  แล้วให้ผู้เรียนเขียนความรู้สึกและปฏิกิริยาของตนเองที่มีต่อเงื่อนไขหรืองานที่กำหนดให้ทำ   ตัวอย่างเช่น  ทำผมกับหุ่นในวิชาเสริมสวย  ถอดและประกอบเครื่องยนต์ที่ไม่ทำงาน  ปฏิบัติกับหุ่นที่เป็นคนไข้
13. ประชุมกลุ่มย่อย  เมื่อผู้เรียนได้ปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งใกล้สำเร็จลง  อาจจะแบ่งกลุ่มย่อยอภิปราย วางแผนและประเมินผลงาน  ตัวอย่างเช่น  อภิปรายผลการทดลอง วางแผนสำหรับการแสดงบทบาท  การประเมินผลคุณค่าของกิจกรรม  เป็นต้น
14. ผู้สอนสาธิตการใช้ การทำงาน ในบางครั้งผู้สอนจำเป็นจะต้องแสดงการสาธิตให้ผู้เรียนดูหรือสังเกต โดยปกติการสาธิตนี้ควรเป็นรายบุคคล แต่บางทีก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะทำให้ดูเป็นกลุ่มเล็ก ๆ
15. การเชิญบุคคลภายนอกมาพูดหรือบรรยาย  กิจกรรมการเรียนนี้มักจะจัดเมื่อเห็นว่าการพูดของวิทยากรจะให้ประโยชน์แก่ผู้เรียนทั้งกลุ่ม  แม้ว่าผู้เรียนจะยังเรียนไม่ถึงเรื่องนั้นพอดีก็ตาม  ผู้สอนจะเป็นผู้จัดเชิญวิทยากรมาเมื่อเห็นว่าผู้เรียนพร้อมแล้ว
16. การผลิต การสร้างโครงการหรือบริการ  กิจกรรมนี้หากจะจัดให้มีขึ้น  ต้องดูก่อนว่าควรจะเอื้อและสอดคล้องกับจุดประสงค์จริง ๆ  ดังนั้นจึงต้องคิดวางแผนให้ดี  ให้กิจกรรมเป็นงานที่อยู่ในขอบข่ายจำกัดและใช้เวลาสั้น ๆ ทำ  ตัวอย่างเช่น  ฝึกทำเล็บให้เพื่อน  ติดซิปกระโปรง  และแต่งหน้าเค้กด้วยน้ำตาลไอซิ่ง  เป็นต้น
17. กิจกรรมแก้ปัญหา  จุดประสงค์บางจุดประสงค์นั้นจำเป็นจะต้องแก้ปัญหาที่กำหนดให้  แต่ปัญหานี้จะต้องเป็นประสบการณ์สั้น ๆ เช่น  เขียนแบบกระท่อมตากอากาศบนภูเขาที่คนจะอยู่ได้ 4 คน  กิจกรรมเหล่านี้  ผู้เรียนจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีทักษะบางประการอยู่แล้ว และจะไปหาความรู้ที่จำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาได้  และปัญหานั้นจะต้องไม่อยู่นอกเหนือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ด้วย
18. การฝึกทักษะ  การมีทักษะบางประการนั้นหมายถึงว่าผู้เรียนไม่เพียงทำได้ถูกต้องครั้งเดียว แต่ให้ทำเมื่อใดก็ต้องทำได้อย่างเรียบร้อย ไม่มีที่ติทุกครั้งไป  ดังนั้นกิจกรรมการเรียนจึงควรระบุระยะเวลาการฝึกหัด  จำนวนครั้งที่ต้องทำซ้ำ ๆ กัน หรือจำนวนการผลิตที่จะทำให้ได้  ตัวอย่างเช่น  เชื่อมโดยไม่ใช้ลวด เป็นเวลา 2 ชั่วโมง  ฝึกทำรังดุม 10 รัง  การจดคำสั่งเป็นชวเลข
19. การท่องจำ  จุดประสงค์ของการเรียนรู้บางข้ออาจจะเกิดขึ้นต่อเมื่อให้ผู้เรียนท่องจำเรื่องราวหรือความรู้ให้ได้ขึ้นใจ  การเรียนรู้ดังกล่าวนี้เป็นการเรียนตามรายการที่กำหนดไว้  เช่น  ท่องมาตราเมตริก  จำสูตรความเร็วของเครื่องกลึง จำศัพท์เทคนิค จำคุณสมบัติของก๊าซบางอย่าง  เป็นต้น
20. การรวบรวมเรื่องราว ภาพ วัสดุหรือสิ่งของ  กิจกรรมการเรียนบางข้อนั้นจะเรียนให้บรรลุได้ตามจุดประสงค์ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้รวบรวมวัตถุที่เป็นของจริงจนกระทั่งรู้จักคุณสมบัติของสิ่งเหล่านี้ รวมทั้งประเภทต่าง ๆ ที่จะหาได้ เช่น รวบรวมโลหะวัสดุก่อสร้าง หญ้าพื้นเมือง การละเล่นของเด็ก ๆ ทั่วไป ประกาศหนังสือพิมพ์
21. การปฏิบัติหรือการทำจริง แต่ทำย่อส่วนหรือลดขนาดลง  ในบางครั้งการปฏิบัติงานหรือการผลิตสิ่งของก็ดี ต้องใช้คนงานหรือใช้วัสดุที่แพงมาก จำนวนมาก  ดังนั้นอาจจะย่องาน ย่อเงื่อนไขแล้วให้   ผู้เรียนทำดู เพื่อให้ผู้เรียนทำด้วยความมั่นใจ  และในขณะเดียวกันก็สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และสอนได้อย่างจริงจัง  ตัวอย่างในเรื่องนี้ได้แก่ การสอนกีฬากลางแจ้งให้แก่เด็ก 2 คน  สร้างโมเดลของโครงหลังคา  ทำผังระบบการชลประทานบนพื้นที่ซึ่งเป็นหุ่น  ก่อมุมคอนกรีตมุมหนึ่ง  เป็นต้น
22. การอ่านใบช่วยสอน  ซึ่งมีไว้โดยเฉพาะสำหรับมอดูล  ใบช่วยสอนนี้จะต้องมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้เรียนเรียน  โดยเป็นข้อความที่ชัดเจน  เหมาะกับระดับสติปัญญาของผู้เรียนและเป็นเนื้อหาที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่น
23. การปฏิบัติการทดลองในห้องทดลอง มอบหมายให้ผู้เรียนทดลองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  โดยมอบเครื่องมือโดยเฉพาะและชี้แจงขบวนการที่จะใช้ทดลองด้วย ให้ผู้เรียนสังเกตผลของการทดลอง และรายงานหรือใช้ผลที่ได้เพื่อการใดการหนึ่ง
24. การเขียนรายงาน  เขียนวิจารณ์เกี่ยวกับการศึกษากรณี  รายงานเกี่ยวกับการอภิปรายในชั้น ฯลฯ  กิจกรรมนี้ย่อมมีประโยชน์อย่างยิ่งในงานวิชาการ
25. การเตรียมทัศนอุปกรณ์  กิจกรรมประเภทนี้ได้แก่ การรวบรวมความรู้และการทำไดอะแกรม  การเขียนแผนภูมิ  การทำกราฟ  การทำแผนที่ที่แสดงลักษณะพื้นที่  การวางผัง  การสเก็ตคร่าวๆ  การวาดภาพ กิจกรรมเหล่านี้ โดยปกติเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์หลายอย่าง และยังเป็น การเสริมแรงให้อยากเรียนรู้อีกด้วย
26. ประสบการณ์ในการวางแผน  จุดประสงค์ในการเรียนรู้บางจุดประสงค์นั้น  ต้องการให้ผู้เรียนรู้จักวางแผนการทำงาน การวางแผนอาจจะรวมถึงการรู้จักเลือกหรือกำหนดงาน  วางขั้นตอนในการทำงาน  คิดค่าวัสดุและประมาณการ  การกำหนดวิธีการตรวจงาน  จุดที่ควรตรวจตรา  ข้อควรระมัดระวัง
27. การวิจารณ์หรือประสบการณ์ในการประเมินผล  กิจกรรมนี้ได้แก่ การขอให้ผู้เรียนประเมินตัวอย่างของผลิตภัณฑ์หรือบริการ  หรือการให้ทำการวิเคราะห์การปฏิบัติงานที่ต้องการทักษะอย่างหนึ่ง สิ่งที่นำมาประเมินอาจเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ง่าย ๆ งานของเพื่อน  งานของตนเอง  ฟิล์มหรือวีดิโอเทปเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน  รายงานที่เขียนขึ้น หรือรายงานปากเปล่าก็ได้
28. ประสบการณ์ร่วมของผู้เรียน  แม้ว่าการสอนระบบ CBE จะมุ่งที่บุคคลเป็นรายตัว  แต่ก็มีบางครั้งที่ต้องการให้ผู้เรียน 2-3 คน ทำงานด้วยกัน  งานอาชีพหลายประเภทต้องการผู้ทำงานเป็นคณะ  ดังนั้นกิจกรรมการเรียนจึงต้องมีกำหนดการทำงานเป็นกลุ่มไว้ด้วย  เช่น  การช่วยกันยกของหนัก ๆ การผลิตที่ต้องใช้การช่วยกันทำ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำงานหรืองานอื่น ซึ่งต้องการผู้ทำงานเป็นทีมในอาชีพหรือในที่ ๆ จำต้องใช้ประสบการณ์กลุ่มของผู้เรียน

โพสท์ใน กิจกรรมการเรียนรู้ | ติดป้ายกำกับ , , | ใส่ความเห็น